
น้ำมันปลาประกอบด้วยกรดไขมันที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 2 ชนิด คือ EPA และ DHA กรดไขมันเหล่านี้ช่วยกระตุ้นกระบวนการต้านการอักเสบของร่างกายและบรรเทาอาการปวดข้อเช่นเดียวกับยาต้านการอักเสบ NSAIDs และยาป้องกันการผลิตเอนไซม์ COX-2 ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่างๆเช่น ในระบบทางเดินอาหาร การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ไต ระบบหัวใจและหลอดเลือด เพื่อให้เกิดผลข้างเคียงกับผู้ป่วยน้อยที่สุดการบริโภคน้ำมันปลาป้องกันสาเหตุสะสมเหล่านี้
ทั้ง EPA และ DHA มีความจำเป็นสำหรับการทำงานหลายอย่างในร่างกาย แต่ร่างกายไม่ได้ผลิตในปริมาณที่เพียงพอสำหรับการใช้งาน EPA ช่วยในการต่อต้านการอักเสบในร่างกายต่อความเจ็บปวด กรดไขมันจะถูกแปลงเป็นโมเลกุลของสารที่มีชีวิต ต้านความเจ็บปวดและอักเสบในข้อต่อต่อต่างๆ รวมทั้งช่วยในการป้องกันไม่ให้ไขมันโอเมก้า-6 ก่อให้เกิดอาการปวดและอักเสบนั้นๆ
มีการวิจัยแสดงให้เห็นว่าอาหารที่มีน้ำมันปลา EPA สูงจะช่วยลดอาการปวดหลังส่วนล่างในผู้ป่วยได้สูงกว่า 50% ทดลองกับผู้เข้าร่วม125คน ที่มีอาการปวดหลังให้ได้รับ EPA 850 มก. และ DHA 200 มก. ต่อวันโดยผลลัพธ์มากกว่าครึ่งสามารถหยุดใช้ยาแก้ปวดตามใบสั่งแพทย์. ทั้งนี้มีการทดลองทางคลินิกอีกกว่า 7 ครั้งได้ผลยืนยันเหมือนกันเมือทาน EPA และ DHA 2-3 กรัมต่อวันเป็นเวลา 3เดือน สามารถลดอาการปวดข้อรุนแรง, ข้อฝืดในตอนเช้า, ข้อต่อที่เจ็บปวด และความต้องการยาแก้ปวด หรือ ยาต้านการอักเสบ
หนึ่งในสาเหตุของอาการปวดข้อคือการบริโภคไขมันโอเมก้า-6มากเกินไป. ในอาหารอเมริกันสมัยใหม่มีไขมันโอเมก้า-6 เป็นส่วนที่จำเป็นในอาหาร แม้กระนั้นน้ำมันพืชและอาหารที่ผ่านการแปรรูปมากเกินไปจะทำให้สมดุลที่ร่างกายจะต้องการระหว่าง กรดไขมันโอเมก้า-6 และกรดไขมันโอเมก้า-3 ในอัตราส่วนที่ดีที่ต่อสุขภาพคือ 3:1 แต่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ใช้อัตราส่วน 15:1 นี้เป็นสาเหตุของอาการปวดและอักเสบเรื้อรัง
น้ำมันปลาสามารถหาได้จากปลาที่มีไขมันดี เช่นปลาแซลมอนหรือในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงแหล่งที่มาของปลาสดไม่มีมลพิษในมหาสมุทรให้แน่ใจว่าปลาไม่มีสารปรอท สารปนเปื้อนหรือตกค้าง วิธีหนึ่งในการตรวจสอบนี้คือการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มี EPA และ DHA ที่มีปริมาณเหมาะสมของกรดไขมันโอเมก้า3 ถึงโอเมก้า6 ผลิตภัณฑ์เสริมน้ำมันปลามีความสดใหม่และปราศจากสารปรอทจะต้องผ่านการทดสอบในห้องแล็ปเพื่อตรวจตามมาตรฐานเภสัชกรรมสากลทั้งนี้น้ำมันปลาสดไม่ควรมีรสขมหรือกลิ่นคาวปลา
ข้อมูลจากเว็ปไซด์
naturalnews และ omega-research
|