ReadyPlanet.com
สาววัยทำงาน กับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ article

 

สาววัยทำงาน กับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย  ทำให้เกิดการอักเสบบริเวณข้อ มักเป็นที่ข้อมือ ข้อนิ้วมือ ข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า ข้อศอก ข้อไหล่ ข่อเข่า โดยจะเป็นทั้งสองข้าง มีอาการปวดบวม และกดเจ็บบริเวณข้อ

      หลายคนอาจไม่เคยรู้จักโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์  แต่ทราบหรือไม่ว่า โรคนี้เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุด  ตั้งแต่เด็กจนกระทั่งผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในช่วงวัยทำงาน อายุตั้งแต่ 20-40 ปี และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 3-4 เท่า ซึ่งเมื่อเป็นแล้ว โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะอยู่เป็นเพื่อนรักของเราไปตลอดชีวิต

      โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย  ทำให้เกิดการอักเสบบริเวณข้อ มักเป็นที่ข้อมือ ข้อนิ้วมือ ข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า ข้อศอก ข้อไหล่ ข่อเข่า โดยจะเป็นทั้งสองข้าง มีอาการปวดบวม และกดเจ็บบริเวณข้อ ผู้ป่วยจะรู้สึกทรมานจากการปวดข้อ โดยเฉพาะตอนตื่นนอนตอนเช้าที่จะมีอาการข้อฝืดตึง ทำให้เคลื่อนไหวลำบากนานกว่า 1 ชั่วโมง  เมื่อกระบวนการอักเสบเกิดขึ้นเรื้อรังและไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะทำให้เกิดการทำลายข้อกระดูก กระดูกอ่อน ผิวข้อ และส่วนประกอบอื่นๆ ของข้อ ทำให้เกิดข้อพิการแต่ปัจจุบันด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าทำให้การรักษาในปัจจุบันได้ผลและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

      สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทยให้ข้อมูลว่า  สถานการณ์โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในไทย  พบอุบัติการณ์อย่างน้อย 3 คนต่อประชากร  1,000 คน  โดยคาดการณ์  ว่ามีผู้ป่วยในประเทศประมาณ 2 แสนคน ขณะนียังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด อาจเกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคร่วมกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่นการติดเชื้อไวรัส  เชื้อแบคทีเรีย  และความเครียด เป็นต้น

    เนื่องจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคเรื้อรัง ไม่หายขาด  การรักษามุ่งเน้นที่ลดการอักเสบของข้อ บรรเทาอาการปวดข้อ  ชะลอหรือยับยั้งการทำลายข้อ  และขวบคุมอาการของโรคให้อยู่ในระยะสงบ  เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างคนปกติ  แม้ว่าวิธีการรักษาอาจมีผลข้างเคียงบ้าง และผู้ป่วยควรอยู่ในความควบคุมของแพทย์ผู้เชียวชาญโดยเฉพาะเท่านั้น  แต่คุณประโยชน์ที่ได้รับมีเหนือกว่าอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น

ในด้านคำแนะนำสำหรับการดูแลตัวเองของผู้ป่วย คือ

  • ผู้ป่วยต้องเข้าใจลักษณะตัวโรคว่าโรคนี้เป็นอย่างไร
  • ผู้ป่วยควรทำใจให้สบาย  เพราะความเครียดและการทำงานตรากตรำจะทำให้ควบคุมอาการของโรคได้ไม่ดีนัก 
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  แนะนำให้บริการกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อที่มีกาหารอักเสบ การเคลื่อนไหวข้อในระดับเหมาะสมจะช่วยลดอาการปวดและการอักเสบได้
  • รับประทานอาหารที่สุกและสะอาด  งดรับประทานอาหารรสจัด
  • หลีกเลี่ยงบุหรี่ แอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการซื้อยารับประทานเอง  ที่อาจทำให้เกิดผลเสียต่อข้อของผู้ป่วย
 
ข้อมูลจากสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย

 




บทความด้านสุขภาพ

เคล็ดลับสำหรับผู้ชายในการดูแลสุขภาพ
สุขภาพสมองแข็งแรง article
วิธีบรรเทาอาการข้อต่อและปวดข้อ article