ReadyPlanet.com
ข้อมูลสนับสนุนเพิ่มเติม article

ไลโคปิน
ข้อมูลสนับสนุนเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของไลโคปีนต่อต่อมลูกหมาก

โดย Stephen Daniells, 9 มกราคม 2008

งานศึกษาชิ้นใหม่จากเยอรมนีชี้ให้เห็นว่า ไลโคปีนอาจเป็นประโยชน์ต่อโรคต่อมลูกหมากโต (BPH) ซึ่งมักเกิดกับผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมากกว่าครึ่ง นักวิจัยจาก Journal of Nutrition ฉบับประจำเดือนนี้ระบุถึงงานศึกษานำร่องชิ้นใหม่ที่ทำขึ้นกับชายสี่สิบคน เพื่อเพิ่มเติมข้อมูลทางคลินิกในส่วนที่ยังขาดอยู่จากครั้งก่อน
หลักฐานระบาดวิทยาเสนอว่าอาหารที่มีมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบหลักสามารถ ป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าผู้ที่บริโภคอาหารที่ปรุงด้วยมะเขือเทศสี่ถึงห้ามื้อ ต่อสัปดาห์มีโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยลง 25 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ค่อยได้กินมะเขือเทศ 

ผลการวิจัยดังกล่าวที่ทำโดย Frost and Sullivan ได้กระตุ้นตลาดผลิตภัณฑ์ที่มีไลโคปีน โดยคาดว่ามีอัตราการเติบโตสูงกว่า 100 เปอร์เซ็นต์จากฐานเดิมที่มีมูลค่าขั้นต่ำอยู่ที่  €27m ($ 34m) ในปี 2003 นักวิจัยโดยการนำของ Silke Schwarz จากมหาวิทยาลัย University of Hohenheim ได้คัดเลือกผู้ป่วยด้วยโรค BPH แต่ยังไม่มีสัญญาณของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากและสุ่มให้ได้รับอาหารเสริมที่มี ไลโคปีน (LycoVit, BASF 15 มก.)หรือยาหลอกเป็นประจำทุกวันตลอดระยะเวลาหกเดือน 

โรคต่อมลูกหมากโต (BPH) เป็นอาการต่อมลูกหมากบวมที่ไม่ใช่มะเร็งในผู้สูงวัยโรคนี้มีผลกระทบต่อคน อเมริกันผิวขาวที่มีอายุมากกว่า 50 ปีประมาณร้อยละ 25  ซึ่งค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากโรค BPH ในปี 2000 คิดเป็น 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (0.9 พันล้านยูโร)ตามข้อมูลของสมาคมระบบทางเดินปัสสาวะของยุโรป (European Association of Urology) ส่วนชายที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ที่ได้รับผลกระทบจาก BPH มีอยู่ร้อยละ 30

หลังจากช่วงเวลาหกเดือน Schwarz และเพื่อนร่วมงานรายงานว่า ระดับของสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Specific Antigen หรือ PSA) ซึ่งเป็นตัวบอกถึงสุขภาพของต่อมลูกหมากได้ลดลงในกลุ่มที่ใช้ไลโคปีนโดยพบว่า เนื้อเยื่อมีสุขภาพดีขึ้น อย่างไรก็ตามไม่พบการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มที่ใช้ยาหลอก 

ยิ่งกว่านั้นเมื่อประเมินผลโดยการตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก และการทำอัลตร้าซาวน์ต่อมลูกหมากทางทวารหนักไม่พบว่าต่อมลูกหมากมีขนาดโต ขึ้น ในกลุ่มผู้ที่ใช้ไลโคปีนขณะเดียวกันก็สังเกตพบการเพิ่มขนาดในกลุ่มที่ใช้ยา หลอก 

“ผลการประเมินอาการของโรคในแบบสอบถาม International Prostate Symptom Score มีคะแนนสูงขึ้นทั้งสองกลุ่มแต่เห็นได้อย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่บริโภคไลโค ปีนเป็นอาหารเสริม” นักวิจัยระบุไว้ในบันทึก “โดยสรุปไลโคปีนช่วยยับยั้งการพัฒนาการของโรค BPH”

Kai Sieviet ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาธุรกิจและการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ที่ดูแลแผนก "Nutrition Ingredients" ของ BASF ทั่วโลกน้อมรับงานวิจัยเป็นอย่างดี 

“ก่อนหน้านี้มีหลักฐานทางเอกสารเกี่ยวกับผลในเชิงบวกของไลโคปีน เฉพาะในส่วนของผู้ป่วยที่มีอาการโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเท่านั้นแต่ในตอนนี้ ได้เป็นที่รับรู้แล้วว่า LycoVit สามารถยับยั้งการเพิ่มขนาดของต่อมลูกหมากโดยทั่วไปได้ จึงทำให้ LycoVit สามารถวางตำแหน่งในตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้อีกครั้ง” Sievert กล่าว 

แต่บทบาทของไลโคปีนที่มีต่อสุขภาพของต่อมลูกหมาก ยังเป็นที่สงสัยอยู่การศึกษาชิ้นหนึ่งที่เผยแพร่ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ในวารสาร Cancer Epidemiology Biomarkers & Prevention รายงานว่า การศึกษาแบบ multi-centre study และ case-control study ที่ประกอบด้วยผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก 692 ราย และสุ่มเลือก 844 ราย จับคู่กับกลุ่มควบคุม พบว่าแคโรทีนอยด์อาจไม่มีคุณสมบัติป้องกันโรคให้ต่อมลูกหมาก 

ตามข้อมูลของสถาบัน European School of Oncology มีการวินิจฉัยผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากกว่าครึ่งล้านรายในแต่ละปี ทั่วโลก และมะเร็งก็เป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 200,000 รายที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่านี้ก็คือผู้ป่วยด้วยโรคนี้ยังคงเพิ่มจำนวนขึ้นถึง ร้อยละ 1.7 ตลอดระยะเวลา 15 ปี

แหล่งข้อมูล: Journal of Nutrition
มกราคม 2551, ฉบับที่ 138, หน้า 49-53
"Lycopene Inhibits Disease Progression in Patients with Benign Prostate Hyperplasia" ผู้เขียน: S. Schwarz, U.C. Obermuller-Jevic, E. Hellmis, W. Koch, G. Jacobi, H.-K. Biesalski 

 




Sub Omega3 Primium

ไลโคปีนและการช่วยปรับปรุงโครงสร้างของผิวให้ดียิ่งขึ้น article
ไลโคปีนช่วยลดอาการผื่นแดงของผิวได้อย่างไร article
ไลโคปีนช่วยให้เซลล์แข็งแรงได้อย่างไร article