ReadyPlanet.com
โภชนาการและไลโคปีนในเลือด article

ไลโคปิน
โภชนาการและไลโคปีนในเลือด และความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม

การศึกษาในห้องปฏิบัติการและจากการสังเกตการณ์พบว่าไลโคปีนอาจมี สรรพคุณป้องกันโรคมะเร็งเต้านม ในขั้นแรกเราได้จัดทำการศึกษาทางระบาดวิทยาแบบติดตามต่อเนื่องในหมู่สตรีที่ ยังไม่มีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคมะเร็งจำนวน 39,876 รายที่บริโภคไลโคปีนเป็นอาหารและบริโภคอาหารที่ให้ไลโคปีน

ผู้เข้าร่วมในการศึกษาได้กรอกแบบสอบถามเกี่ยวกับความถี่ของการบริโภค อาหารต่างๆ และทำรายงานเกี่ยวกับตนเองถึงปัจจัยความเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นโรคมะเร็งเต้า นม จากนั้นมีการจัดระดับการบริโภคไลโคปีนออกเป็น quintile และแบ่งอาหารที่ให้ไลโคปีนออกเป็นหมวดต่างๆ  ตลอดระยะเวลา 9.9 ปีที่มีการติดตามผลเมื่อตรวจสอบบันทึกทางการแพทย์พบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรค มะเร็งเต้านม 1,076 ราย 

ในการศึกษากลุ่มควบคุมแบบ nested case-control study มีการศึกษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 508 รายและกลุ่มควบคุมที่มีช่วงอายุเดียวกันที่สูบบุหรี่ และช่วงระยะเวลาการติดตามนอกจากนี้มีการวัดระดับไลโคปีนและแคโรทีนอยด์ใน เลือด 

ในการศึกษากลุ่มควบคุมแบบ prospective cohort study ผู้หญิงใน quintile ที่มีระดับการบริโภคไลโคปีนสูงขึ้น มีค่าความเสี่ยง (RR) แบบพหุตัวแปรของมะเร็งเต้านมอยู่ที่ 1.00 (ref), 0.95, 1.00, 1.10, and 1.00 (P, linear trend = 0.71) ผู้หญิงที่บริโภค<1.5, 1.5 ถึง<4, 4 ถึง<7, 7 ถึง  <10, และ>หรือ =  บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบ 10 มื้อ/สัปดาห์มีค่าความเสี่ยง RR อยู่ที่ 1.00 (ref), 1.00, 1.20, 1.18, and 1.16 (P, linear trend = 0.11)

ไม่มีอาหารที่ให้ไลโคปีนชนิดใดมีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านมในกลุ่ม ศึกษาแบบ nested case-control study ผู้หญิงใน quartile ที่มีไลโคปีนในเลือดเพิ่มขึ้นมีมีค่าความเสี่ยง (RR) แบบพหุตัวแปรของมะเร็งเต้านมอยู่ที่ 1.00 (ref), 0.95, 1.15, and 0.93 (P, linear trend = 0.86)

การมีระดับแคโรทีนอยด์ในเลือดเพิ่มขึ้นแต่ละขั้นไม่มีผลต่อค่า RR สำหรับไลโคปีนในเลือด ทั้งแคโรทีนอยด์อื่นๆก็ไม่มีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม

โดยสรุประดับไลโคปีนในเลือดหรือในอาหารที่สูงขึ้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดลงของความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมใน ผู้หญิงวัยกลางคนขึ้นไป 

 




Sub Omega3 Primium

ไลโคปีนและการช่วยปรับปรุงโครงสร้างของผิวให้ดียิ่งขึ้น article
ไลโคปีนช่วยลดอาการผื่นแดงของผิวได้อย่างไร article
ไลโคปีนช่วยให้เซลล์แข็งแรงได้อย่างไร article